วิธีการตกปลาช่อน ภาคที่ 1

วิธีการตกปลาช่อน ภาคที่ 1

สวัสดีครับวันนี้มีเทคนิคดี ๆ ในการตกปลาช่อนมาฝากกันครับ
ผมว่าในที่นี้ถ้าเป็นคนไทยแล้วละก็คงปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าไม่รู้จักปลาชนิดนี้ เพราะปลาช่อนน้ำจืดเป็นที่มีถิ่นอาศัยอยู่ทุกภาคของประเทศไทยอยู่แล้ว สำหรับใครที่ไม่รู้จักจริง ๆ แล้วละก็ผมมีภาพปลาช่อนมาให้ดูกันด้วยครับ เผื่อจะมีคนที่ไม่รู้จักจริง ๆ

ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striata อยู่ในวงศ์ปลาช่อน(Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6 – 7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30 – 40 ซ.ม. ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนสปีชีส์นี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า ” ปลาช่อนจำศีล ” พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้ พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง[1] เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino) หรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body)

ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก ที่เรียกว่า “ปลาช่อนแม่ลา” มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา

ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า ” หลิม ” ในภาษาเหนือ ” ค้อ ” หรือ ” ก๊วน ” ในภาษาอีสาน เป็นต้น

 

เป็นไงครับจอจะคุ้นหน้าคุ้นตากับปลาช่อนกันแล้วรึยังครับ เราได้รู้จักปลาช่อนกันแบบคร่าว ๆ ไปแล้ว คราวนี้เราจะมีวิธีการยังไงละที่จะตกปลาช่อนให้ได้ ปัญหาการตกปลาแบบนี้ทาง  เอส.แอล.ฟิชชิ่ง เรามีคำตอบให้ครับ

DSC01835

SLFISHING
วิธีการตกปลาช่อน ภาคที่ 1

การตกปลาช่อนในภาคที่ 1 นี้เราจะมาพูดถึงการใช้เหยื่อแบบผิวน้ำกันนะครับ การตกปลาช่อนโดยการใช้เหยื่อผิวน้ำนั้น แค่ฟังก็น่าจะรู้แล้วนะครับว่าเราจะหลอกให้ปลาขึ้นมากินเหยื่อบนผิวน้ำเลย แล้วอะไรละที่จะใช้ในการหลอกล่อให้ปลาขึ้นมากินเหยื่อบนผิวน้ำของเราได้ แน่นอนครับ เราต้องหาเหยื่อที่ปลาช่อนชอบ ปลาช่อนชอบกินอะไรนะเหรอ เดี๋ยวจะบอกให้นะครับ ปลาช่อนนั้นชอบกิน

เหยื่อ

 1. สัตว์น้ำด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นชนิดปลาต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น พวกปลากระดี่ ฯลฯ หรือว่าจะเป็นกุ้งตัวเล็ก ๆ ปลาช่อนก็ไม่ปฏิเสธนะครับ
2. สัตว์บก ส่วนมาสัตว์บกที่ปลาช่อนกินนั้น จะเป็นสัวต์เลื่อนคลานนะครับ  เช่นจิ้งจก กิ้งก่า พวกนี้ปลาช่อนก็กินครับ
3. สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สำหรับสัตว์ครึ่งบอกครึ่งน้ำนั้นดูว่าเจ้าปลาช่อนของเราจะนิยมชมชอบเป็นพิเศษครับ เพราะไปตกทีไรโอกาสได้ตัวสูงครับ โดยเฉพาะในหมายธรรมชาติ ๆ หน่อยแล้วละก็ลองหาเหยื่อประเภทนี้ไปลองครับแล้วจะบอกว่า “สุดยอด” สำหรับเหยื่อที่ผมพูดถึงอันนี้ก็คือ กบ หรือเขียดขนาดเล็ก ๆ เช่น *กบบัว(เขียดบก,เขียด) หรือ เขียดตับปาดบางสายพันธุ์ก็ได้ครับ
4. สัตว์ปลอมชนิดต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นครับ หรือเหยื่อปลอมนั้นเองแหละครับ  พอเรียกว่าเหยื่อปลอมนี้ฟังง่ายขึ้นเยอะเลย ไม่ว่าจะเป็น กบ กระดี่เงิน สปูน เหยื่อยาง พูดวันนี้สงสัยจะเป็นลมเอา เอาเป็นเหยื่อปลอมที่มีลักษณ์และรูปร่างคล้ายกับสัตว์ทั้ง 3 แบบที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 – 3 เป็นอันใช้ได้หมดครับ
เราได้เหยื่อผิวน้ำกันแล้วนะครับ  ลองเลือกเอาตามความสะดวกแล้วกันนะครับ ใครหาอะไรได้ง่ายก็ลองไปค้นไปหามาใช้เป็นเหยื่อตกปลากันดู คราวนี้เรามาดูวิธีตกกันดีกว่าว่าเราควรจะทำยังไง
ก่อนอื่นเราต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมกันนะครับขั้นแรก เราต้องหาคันเบ็ดก่อนครับ
อุปกรณ์
1. คันเบ็ด คันเบ็ดสำหรับการตกปลาปลาช่อนแบบเหยื่อผิวน้ำนั้น เราควรเลือกคันที่มีลักษณะเรียว คันเล็ก สามารถสร้าง แอคชั่น ให้กับเหยื่อได้ดี และที่สำคัญต้องมีน้ำหนักเบาครับ เพราะการตกปลาช่อนด้วยวิธีการดังกล่าวนั้นนักตกปลาจะต้องใช้ความพยายามค่อนข้างมากเพราะผู้ตกจะต้องยืนตีเหยื่อออกไปแล้อุวลากกลับมาแล้วก็ตีออกไปอีกแบบนี้จนกว่าปลาจะกินเหยื่อครับ ถ้าใครลองเอาคันที่มีน้ำหนักมากไปละก็ รับรองได้ครับว่าถึงจะไม่ได้ปลาแต่ได้กล้ามแทนแน่ ๆ ครับ
2. รอก รอกสำหรับการตกปลาช่อนนั้น จะแบบใดก็ได้แล้วแต่ความถนัดของนักตกปลา แต่ก็จะมีเทคนิคการเลือกอีกนิดก็คือเรื่องน้ำหนักครับ เอาเบา ๆ เข้าไว้เป็นดีครับ
3. สาย สายจะเป็นสายแบบใดก็ได้ แต่ในการตกปลาช่อนนั้นควรเป็นสายที่ทนแรงดึงได้ดี และที่สำคัญการตกปลาช่อนวิธีนี้จะทำให้สายเอ็นที่ใช้เสื่อมสภาพโดยเร็วครับ ฉะนั้นเราจึงควรตรวจสอบสภาพสายให้บ่อยครั้งขึ้นครับ  เพราะการตีเหยื่อออกไปแล้วลากกลับแบบนี้สายเอ็นตกปลานั้นจะเกิดการเสียดสีครับไกด์ หรืออาจจะเสียดสีกับสวะต่าง ๆ ในน้ำเมื่อบ่อย ๆ ครั้งเข้าจะทำให้สายเปื่อยได้ง่ายครับ
4. ตัวเบ็ด ตัวเบ็ดสำหรับการตกปลาช่อนนั้นเลือกใช้ตามความเหมาะสมครับ เพราะปลาช่อนปากจะกว้างสามารถฮุบเหยื่อใหญ่ ๆ ได้สบาย ๆ อยู่แล้ว แต่ควรเลือกที่มีอุปกรณ์ป้องกันสวะที่ติดมากับตัวเบ็ดครับ เพราะปลาช่อนชอบอยู่บริเวณที่สวะหรือขอนไม้ครับ บางครั้งลากสายไปติดกับไม้ใต้น้ำเอาดื้อเลยครับ ทำไปทำมาดึงสายจนขาดเหยื่อและตัวเบ็ดอันเป็นที่รักก็ต้องไปติดอยู่ใต้น้ำ นักตกปลาบางท่านใจกล้ายังลงไปเอากลับขึ้นมาได้ แต่สำหรับนักตกปลาบางคนได้แต่ยืนมองตะพริบ ๆ อยู่ริมบึงครับ
5. อุปกรณ์สำหรับตกปลาโดยทั่วไปครับนักตกปลาทราบกันอยู่แล้ว พวกลูกหมุน คีมตัดสาย อันนี้ผมขอไม่พูดถึงนะครับ
เราได้ทั้งเหยื่อและอุปกรณ์ตกปลาพร้อมแล้วคราวนี้เราจะไปตกที่ไหนละเนี่ย มาครับมาดูกันว่าเราจะตกปลาช่อนได้ที่ไหนบ้าง ปลาช่อนเป็นปลานักล่าครับ เราควรเลือกหม้ายที่มีพงหญ้าบางเล็กน้อย มีสวะก็ได้นะครับแต่ถ้าหากมันเยอะมากไปก็คงไม่ไหว เอาเป็นการเลือกหม้ายก็ดูหลาย ๆ ปัจจัยนะครับ แต่ที่สำคัญสุดต้องมีน้ำนะครับ 555 (บางคนบอกไปตกในตลาดง่ายกว่ามั่ง แบบนี้มันง่ายไปสิครับ) สำหรับวันนี้ ผมเองก็ขอจบเรื่อง วิธีการตกปลาช่อน ภาคที่ 1 แต่เพียงเท่านี้นะครับ  ไว้รออ่านภาค 2 ครับว่าผมจะหาวิธีตกปลาชนิดนี้ยังไงได้บ้าง

Leave a Reply