การตกปลาอีคุด Black porgy

วันนี้ เอส.แอล.ฟิชชิ่ง ของเราได้เขียนคอร์ลัมใหม่ ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันอีกแล้วนะครับ พอดีนั่งคิดนอนคิด ตอนหลับไม่ได้คิดนะครับ ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี คิดไปคิดมาลองเขียนเรื่องปลาเล็ก ที่ตกสนุก ๆ ดูดีกว่า ในสมองก็คิดได้ทันที ว่าเขียนเรื่องปลา“อีคุด”ดีกว่า….. พอฟังชื่อปลาชนิดนี้ก็คิดถึงแกงเหลือง (แกงส้มปักษ์ใต้) ฝีมือแม่ขึ้นมาทันทีเลยครับ พูดแล้วก็คิดถึงขึ้นมาจริง เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่านะครับ หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อปลา “อีคุด”กันสักเท่าไหร่นักนะครับ เพราะเป็นปลาที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ตามโขดหิน ตามโป๊ะเก่า ๆ ตามปากแม่น้ำ และบางครั้งก็พบได้ตามแม่น้ำตามคลองที่มีการเชื่อมต่อกับทะเล และเมื่อมีการทดน้ำเข้ามาในบ่อเพื่อเลี้ยงกุ้งก็จะมีปลาเหล่านี้ติดเข้ามาอยู่ในบ่อกุ้งด้วย ปลา “อีคุด”จึงเป็นปลาที่สามารถตกได้ทั้งตามโป๊ะ ตามเสา ตามที่รก ๆ ในทะเล ปากอ่าว จนกระทั้งบ่อเลี้ยงปลาหรือนากุ้งทั่ว ๆ ไป ในต่างประเทศโดยเฉพาะแถบตะวันออกไกลอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น และจีน ปลาอีคุด (Black Porgy) ถือได้ว่าเป็นปลาเกมส์ชายฝั่งชั้นดี และมีการตกกันอย่างแพร่หลาย และมีอุปกรณ์ตกปลาเพื่อการตกปลา “อีคุด”โดยเฉพาะกันเลยทีเดียว ตั้งแต่ชุดที่ใส่เพื่อออกตกปลาซึ่งได้ถูกออกแบบให้มีความคล่องตัวเหมาะแก่การปีนป่ายไปตามโขดหินตะปุ่มตะป่ำ คันเบ็ดที่ยื่นยาวกว่าคันเบ็ดทั่ว ๆ ไป สวิงช้อนปลา …

อ่านต่อ

เทคนิคการตกปลาช่อน 2 (ด้วยเหยื่อผิวน้ำ)

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ สมาชิก ชาว เอส.แอล.ฟิชชิ่งทุกท่าน จากที่ผมเองได้เคยเขียนเรื่องราวและวิธีการตกปลาช่อนให้หลาย ๆ คนได้อ่านกันไปแล้ว วันนี้ผมจะมาย้ำ หลักและวิธีในการตกปลาช่อน โดยการใช้เหยื่อผิวน้ำกันอีกสักหน่อยนะครับ โดยปกติแล้วปลาช่อนนั้น กินเหยื่อ จำพวก ปลาขนาดเล็ก ๆ  แมลงบางชนิด กบ หรือ เขียด ฯลฯ ซึ่งเหยื่อปลอมที่ออกมาวางขายกันในท้องตลาดนั้นก็จะทำรูปร่างให้มีลักษณะคล้าย ๆ กับเหยื่อตามธรรมชาติของปลาช่อน แต่ทำไมเหยื่อบางตัวปลาช่อนชอบกัด แต่บางตัวซื้อมาตั้งนานแล้ว เอาออกมาจากกล่องอุปกรณ์ตกปลาที่ไร กลับบ้านไปได้แห้วกลับบ้านเต็มกล่องเพราะเหยื่อตัวนั้นทุกที ในที่สุดเหยื่อตัวนั้นก็จะกลายเป็นเหยื่อก้นกล่อง และไม่ได้นำออกมาใช้งานอีกเลย (น่าเสียดายจริง ๆ ) เหยื่อผิวน้ำ เหยื่อผิวน้ำนั้นชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่าใช้งานอย่างไร นั้นก็คือการลากให้เหยื่อนั้น สร้างลักษณะท่าทาง(แอคชั่น) อยู่บนผิวน้ำทำให้ปลาเกิดความสนใจมากที่สุด การที่เราใช้เหยื่อปลอมในการตกปลานั้นสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเหยื่อตามธรรมชาติของปลาช่อนนั้นก็คือ เรื่องของแอคชั่นที่แตกต่าง อีกทั้งยังเรื่องของกลิ่น หรือแม้แต่รสของเหยื่อ สิ่งเหล่านี้ผู้คิดค้นอุปกรณ์ตกปลานั้นได้เพิ่มขีดความสามารถด้านอื่น เพื่อลดสิ่งที่ขาดไปเมื่อเราใช้เหยื่อปลอมในการตกปลา ที่เห็นได้อย่างชันเจนและคิดว่าหลาย ๆ ท่านเองก็คงเคยเห็น หรืออาจจะเคยใช้งานมาแล้วก็ได้ เช่น การติดใบพัดไว้กับเหยื่อ เพื่อสร้างเสียง สร้างการแตกตัวของน้ำทำให้ปลาเกิดความสนใจ และพุ่งเข้ากัดเหยื่อ การใช้พู่สีต่าง…

อ่านต่อ

การตกปลากระพง

มาดูกันว่าเราสามารถตกปลากระพงได้ด้วยวิธีใดบ้าง จากการลองผิดลองถูก ทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้และสามารถรู้วิธีและขั้นตอนในการทำสิ่งต่าง ๆ การตกปลาก็เช่นกัน เมื่อเราได้ลองผิดลองถูกก็ทำให้เราวิธีการในการตกปลา สำหรับวันนี้ผมมีวิธีการตกปลากระพง ในวิธีต่าง ๆ ที่ได้ทั้งการลองผิดลองถูกและได้รับฟังการคำบอกเล่าจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ นักตกปลาที่ได้รับประสบการณ์และนำมาถ่ายทอดกันมาเป็นวิทยาทาน   วิธีที่  1 ลอย   เป็นวิธีที่ยอดฮิตที่สุด เพราะปลากระพงเป็นปลาล่าเหยื่อกลางน้ำเสียส่วนใหญ่ แต่การลอยนั้นมีข้อเสีย คือ ถ้าแหล่งน้ำไหลเราจะไม่สามารถคงบคุมทิศทางของเหยื่อได้ตลอดเวลา เพราะทุ่นก็จะลอยไปตามกระแสน้ำ จึงต้องเก็บสายมาตีใหม่บ่อย ๆ นอกจากจะทำให้แขนเมื่อยแล้ว เหยื่อเองก็จะบอบช้ำและอาจจะตายเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าสายเบ็ดอยู่ในแนวเดียวกับกระแสน้ำแล้วละก็ไม่มีปัญหาอะไร และการลอยยังมีข้อเสียอีกอย่างก็คือเหยื่อเป็นที่เรานำมาใช้จะว่ายน้ำไปหาที่หลบภัย พวกกอสวะ ดีไม่ดีอาจจะว่ายไปติดตอและทำให้เราเสียทั้งเบ็ดและเหยื่อเอาได้ง่าย ๆ วิธีที่ 2 จม    การตกปลาด้วยวิธีที่นี้อาจจะเป็นวิธีการที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ อาจจะเป็นเพราะความสะดวกไม่ยุ่งยากหรือไม่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์บังคับ ตกแบบลอยไม่ได้เลยเปลี่ยนมาตกแบบจมแทน การตกแบบจมก็คือการใช้ตะกั่วถ่วงลงถึงพื้น วิธีนี้เราสามารถกำหนดจุดตกของเหยื่อได้แน่นอนตายตัว แต่ข้อเสียคืนพื้นที่ (ลานวิ่ง) ของเหยื่อจะค่อนข้างจำกัด อาจแก้ไจได้ด้วยการประกอบสายหน้าให้ยาวหน่อย นอกจากนี้เหยื่ออาจจะหลบภัยด้วยการฝังตัวลงในดินหรือถ้าเหยื่อเป็นก็จะทำให้ระยะเวลาของเหยื่อสั่นลงเพราะเหยื่อจะไม่สามรถขึ้นมาหายใจได้ทำให้เหยื่อตายเร็ว สองวิธีที่กล่าวมาการกินเหยื่อของปลาก็จะใกล้เคียงกันแล้วแต่ว่าวันไหนสภาพน้ำเป็นยังไง เพราะในการครั้งปลากระพงเองก็กินเหยื่อแบบจมบ้าง เหยื่อแบบลอย บ้างไม่แน่นอน วิธีที่ 3 ล่องลอย…

อ่านต่อ

การตกปลาแบบ Jigging

การตกปลาแบบ Jigging คันเบ็ดและรอก คันเบ็ดและรอกที่สามารถนำไปใช้กับงานตกปลาแบบ Jigging นั้นสามารถใช้ได้ทั้งชุดแบบสปินนิ่ง และชุดเบทคาสติ้ง หลักการเลือกใช้คันและรอกจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คันเบ็ดไม่ว่าจะเป็นคันแบบเบทคาสติ้งหรือสปินนิ่ง – น้ำหนักคันต้องเบา เพราะการตกปลาแบบ Jigging นักตกปลาจะต้องถือคันเบ็ดไว้ตลอดเวลา – ความยาวที่เหมาะสม ระหว่าง 5 ฟุต ถึง 6 ฟุต 6 นิ้ว ถ้าสั้นกว่านี้จะสร้าง Action ให้กับเหยื่อได้ยาก และถ้ายาวกว่านี้ น้ำหนักก็จะเพิ่มมากขึ้น คันเบ็ดที่ใช้จะเป็นแบบท่อนเดียวหรือคันแบบสองท่อนก็ได้ ในปัจจุบันบ้านเรานิยมใช้คันเบ็ดแบบสองท่อน โดยมีข้อต่อที่ส่วนบนของด้ามจับ (fore grip) ด้ามจับส่วนใหญ่จะเป็นยาง EVA ที่มีน้ำหนักเบา – ไกด์ จะต้องรองรับการเสียดสีของสายในรอก ที่ส่วนใหญ่จะใช้สาย PE Dyneema หรือสายเชือกถัก ซึ่งสายเหล่านี้จะไม่ลื่นเหมือนกับสายเอ็นทั่วไป ส่วนใหญ่วงไกด์ที่นิยมใช้กัน จะมีวงในเป็นซิลิคอน คาร์ไบท์ (SIC) นอกจากนั้นจะต้องพิจารณาขนาดของวงไกด์ตัวแรกให้มีขนาดใหญ่มากพอที่จะลดแรงเสียดทานของสายจากรอก ถ้าเป็นคันแบบสปินนิ่งโดยทั่วไปนิยมใช้วงไกด์ขนาด 40 มิลลิเมตร (เรียกย่อๆ ว่าไกด์เบอร์…

อ่านต่อ